0
Cart: $0.00

โครงการระบบฐานข้อมูลศิลปะล้านนา:

จิตรกรรมล้านนา

 

เจ้าของ      คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                 สำนักงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการระบบฐานข้อมูลศิลปะล้านนา ได้รับการสนับสนุนและอนุมัติให้ดำเนินโครงการภายใต้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก : ล้านนาสร้างสรรค์ (กลยุทธ์ที่ 2 เป็นศูนย์รวมคลังความรู้ พัฒนา เผยแพร่องค์ความรู้และข้อมูลด้านล้านนาคดีและล้านนาสร้างสรรค์) ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563  ระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

 

หลักการและเหตุผล

          การเรียนศิลปะไม่ว่าแขนงใด จะเพื่อชื่นชมความงาม ความหมาย เพื่อวิจัยสร้างองค์ความรู้ หรือเพื่อประโยชน์ในการสร้างสรรค์ศิลปะและงานออกแบบต่างๆนั้น ที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือการศึกษาจากของจริง การได้สัมผัสหรือเรียนรู้จากงานจริงเป็นสิ่งมีค่าและจำเป็น เพราะผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ตรง ได้แรงบันดาลใจ และการรับรู้ข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างชัดเจน ครบถ้วนมากที่สุด ในแง่นี้งานศิลปะจัดเป็นหลักฐานชั้นต้น(Primary Source) อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้จากของจริงก็มีข้อจำกัดและทำได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากตัวศิลปะเองก็ดำรงอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการรับรู้และเข้าถึงเช่นเดียวกัน เพราะงานศิลปะเป็นวัตถุ ย่อมจะต้องเสื่อมลง ชำรุด สูญหาย หรือตั้งอยู่ในสถานที่ห่างไกล คือกระจายไปตามแหล่งต่างๆของผู้ครอบครอง เราจึงต้องศึกษาเรียนรู้ศิลปะจากหลักฐานชั้นรอง(Secondary Source)ด้วย งานศิลปะต้องถูกแปรสภาพเป็นข้อมูลภาพถ่าย ภาพวาด การบันทึกข้อความหรือข้อเท็จจริง อันเป็นคุณสมบัติตามความเป็นจริงของศิลปวัตถุเหล่านั้น

          การศึกษาหรือดูงานศิลปะผ่านสื่อจึงเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าการออกภาคสนามจะเป็นขั้นตอนสำคัญของวิธีวิจัย แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าของสื่อดิจิทัลส่งผลให้ข้อมูลงานศิลปะมีการพัฒนาสูงขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นการยกระดับหลักฐานชั้นรองให้มีลักษณะเฉพาะ ที่สืบเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาความต้องการภาพแบบใหม่ๆ เช่น ภาพที่มีความคมชัดสูง สามารถขยายหรือซูมดู จนมิติการเห็นรายละเอียดภาพไม่เหมือนตอนที่ดูงานของจริง การต่อภาพขนาดใหญ่แต่ไม่ดิสทอร์ชั่น ซึ่งการดูจิตรกรรมฝาผนังในสถานที่จริง รวมถึงการถ่ายภาพปกติไม่สามารถเห็นภาพลักษณะนั้นได้ หรือการต่อภาพพระบฏที่ยาวต่อเนื่องมากๆ การจำลองภาพ 3 มิติที่ขยับหมุนได้ ทำให้เห็นด้านหลังและด้านข้างพระพุทธรูปที่อยู่ในตู้ของพิพิธภัณฑ์ รวมถึงภาพเสมือนจริง (VR) อีกหลายแบบ นอกจากนี้ก็มีการต่อเติม(Reconstruction)ภาพจิตรกรรมที่ชำรุดลบเลือนให้สมบูรณ์มากขึ้น ตลอดจนการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมากลงในอุปกรณ์ขนาดเล็ก หรือผ่านเครือข่ายฯ ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

          การรวบรวมข้อมูลงานศิลปะมาพัฒนาเป็นระบบฐานข้อมูลรูปแบบสื่อดิจิทัล เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ วิจัย และประยุกต์ใช้ในการสร้างงานศิลปะ หรือการดูเพื่อชื่นชมของคนทั่วไป เหล่านี้มีความสำคัญและจำเป็นต้องจัดสร้างขึ้น เพราะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในโลกยุคศตวรรษที่ 21  คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงเสนอให้มีโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิลปะล้านนาขึ้น โดยจะเน้นในเรื่องจิตรกรรมล้านนาก่อนเป็นลำดับแรก

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. สร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูลศิลปะล้านนาในรูปแบบสื่อดิจิทัล ชนิดข้อมูลภาพ(Image) และข้อความ (Text) รวมถึงการบริหารจัดการฐานข้อมูล โดยจะเน้นเฉพาะจิตรกรรมล้านนาแบบประเพณี

2. เป็นการเผยแพร่ข้อมูลศิลปะล้านนาแบบออนไลน์ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ การวิจัย การสร้างงานศิลปะและนวัตกรรม

3. เพื่อรวบรวมและจัดระบบข้อมูลงานจิตรกรรมล้านนาโดยรวม  ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาความรู้เรื่องดังกล่าวในด้านปริมาณและคุณภาพ

4. ใช้ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในระบบและการศึกษาตลอดชีวิต

5. เพื่อให้ตระหนักถึงคุณค่าและภูมิใจในมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของตนเองจากสื่อที่เข้าถึงง่าย  เป็นการพัฒนาสังคมในด้านส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

 

กลุ่มเป้าหมาย    นักเรียน  นักศึกษา  ครู-อาจารย์  นักวิจัย  นักวิชาการ  นักอนุรักษ์  ภัณฑารักษ์  คนทำงานศิลปะ  นักออกแบบ  นักเขียน  นักท่องเที่ยว  ธุรกิจการท่องเที่ยว  ชุมชนท้องถิ่น  และประชาชนทั่วไป

 

การเผยแพร่     เริ่มเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์โครงการฯตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

                 เป็นการเผยแพร่ข้อมูลในระบบออนไลน์  เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและบริการสังคมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน  ไม่ได้มุ่งเน้นในเชิงธุรกิจหรือการแสวงหารายได้  การนำข้อมูลไปใช้ในกิจกรรมใดขอให้มีการอ้างอิงแหล่งที่มา(เว็บไซต์โครงการฐานระบบข้อมูลศิลปะล้านนา)  และไม่นำข้อมูลไปใช้ในทางเสียหายหรือมีเจตนาบิดเบือน  เปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยมิชอบ  ขอสงวนสิทธิ์ในการฟ้องร้อง ดำเนินคดีตามกฎหมาย

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

          1. คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุพงษ์ เลาหสม (หัวหน้าโครงการ)

 

ที่ปรึกษาโครงการ

          1. ศาตราจารย์เกียรติคุณ ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์             

          2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระพันธ์ จันทร์หอม     

 

คณะทำงาน     

          1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาณุพงษ์ เลาหสม     หัวหน้าคณะทำงาน       

          2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย จงจิตงาม         

          3. อาจารย์ ดร.วรรณุฉัตร ลิขิตมานนท์              

          4. อาจารย์สิริวิชย์ พังสุวรรณ              

          5. อาจารย์ศักรินทร์ สุทธิสาร              

          6. นางจิรพรรณ คำหมื่นกุล                

          7. นายภควัส บุตรศรี             

          8. นางฉฬภิญญา ตรีวิทย์                    เลขานุการ       

 

ประสานงาน

          1. นางสาวเสาวนีย์  ทิพยเนตร

          2. นางสาวสายธาร  มาณะศรี

 

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินงาน

         1.  รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยศ  อิษฎ์วรพันธุ์   ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

         2.  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์  นันทศรี    ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ผลิตชุดข้อมูลภาพ(Image)   ภาณุพงษ์ เลาหสม  มัลลิกา อยู่สกลภักดิ์  พัชราภา วิริยะตานนท์         

และข้อความ(Text)            เตชสิทธิ์ สุทธางคกูล  ภูชนิกานต์ มีสัตย์  นภาพร แซ่ม้า  ปวีณา วางที

 

แปลจารึก                     ภูเดช แสนสา  ประสงค์ แสงงาม

 

ถ่ายภาพ                      ธรณิศ กีรติปาล  วัชระพันธ์ ปัญญา และทีม

                               ภควัส บุตรศรี  สุรชัย จงจิตงาม  สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์  ภาณุพงษ์ เลาหสม ภูมิรพีร์ คงฤทธิ์ 

                               กิตติพงษ์ เขื่อนแก้ว  อดิศักดิ์ ไตรภู่  สมศักดิ์ สิงห์คะราช  ลิขิต  นิสีทนาการ

                                                             

ออกแบบโลโก้                  สิริวิชย์ พังสุวรรณ

 

ปฏิบัติงานเว็บไซต์             จิรพรรณ คำหมื่นกุล

 

จัดทำรายงาน                 ฉฬภิญญา ตรีวิทย์  อุกฤษฎ์ วงศ์สัมพันธ์

+