0
Cart: $0.00

ภาพพระบฏวัดทุ่งน้าวมีจำนวนทั้งหมด 15 ผืน เป็นภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์ มีตัวอักษรภาษาไทยเขียนกำกับชื่อกัณฑ์ในแต่ละผืน และมีอักษรล้านนาเขียนอธิบายบรรยายภาพ และมีชื่อ เจ้าน้อยตุ่ย เจ้าคำป้อ รัตณวงศ์ เป็นผู้ศรัทธาที่ถวายผ้าพระบฏทั้งหมดนี้  บางผืนมีเขียนจารึกระบุปี พ.ศ.2472 การเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ในภาพมีทั้งเล่าเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ในฉากเดียวผืนเดียว โดยจะเลือกภาพเหตุการณ์สำคัญในแต่ละกัณฑ์มาวาด มีทั้งลำดับเหตุการณ์จากซ้ายไปขวา จากขวาไปซ้าย จากล่างขึ้นบน จากบนลงล่าง แล้วแต่การจัดวางองค์ประกอบของช่าง ทุกผืนมีฉากท้องฟ้าเสมอ ไม่มีการปล่อยพื้นที่ให้วางมักลงสีเขียวหรือสีน้ำตาลเป็นสีพื้นเสมอ

การใช้เส้นและสีของช่างผู้เขียนภาพ เป็นการใช้สีดำตัดเส้นทั้งแบบหนาและบาง บางส่วนที่เป็นก้อนเมฆหรือภูเขามีการใช้สีน้ำเงินตัดเส้นด้วย สีที่ใช้ คือ  สีดำ สีน้ำเงิน สีส้ม สีน้ำตาล สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีคู่ที่ใช้คือสีน้ำเงินกับส้ม ลักษณะเทคนิคพิเศษที่ใช้ คือ มีการกระทุ้งสีที่ใช้เขียนพุ่มไม้หรือต้นไม้ มีการไล่ระดับสีจากเข้มแล้วค่อยๆ จางลง

อิทธิพลศิลปะที่ปรากฏในภาพ การวาดส่วนที่เป็นอาคาร สถาปัตยกรรมต่างๆ พยายามใช้ perspective ในการวาด หรือการลงเงาต่างๆในภาพวัตถุหรือฉากหลังเพื่อทำให้ภาพดูสมจริงขึ้น ทรงผม เครื่องแต่งกายต่างๆที่เป็นรูปแบบการแต่งกายของผู้คนในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25 ตามแบบไทยภาคกลาง หรือการทรงเครื่องแบบกษัตริย์ที่เป็นแบบจิตรกรรมไทยภาคกลาง โดยลักษณะที่เป็นรูปแบบศิลปะล้านนาจะเหลือให้เห็นเป็นส่วนน้อย เช่น บ้านที่เป็นเรือนกาแล การนุ่งซิ่นลายล้านนา



พระมาลัย (ต้น) วัดทุ่งน้าว
Read more
ภาพที่ 1 พระมาลัย (ต้น)

พระมาลัย (ต้นและปลาย) วัดทุ่งน้าว
Read more
ภาพที่ 2 พระมาลัย (ต้นและปลาย)

กุมารบรรพ วัดทุ่งน้าว
Read more
ภาพที่ 10 กุมารบรรพ

ฉกษัตริย์ วัดทุ่งน้าว
Read more
ภาพที่ 14 ฉกษัตริย์

นครกัณฑ์ วัดทุ่งน้าว
Read more
ภาพที่ 15 นครกัณฑ์

+